แผนงาน

แผนการดำเนินงาน ในช่วง 5 ปี


แผนงานวิจัย


แผนงานบริหารจัดการ

                  คณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้สูงวัย ทำหน้าที่ วางแผน กำหนดแนวทาง และการบริหารงานให้บรรลุเป้าหมาย ตัวชี้วัดของศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้สูงวัย โดยกำหนดการประชุม เพื่อวางแผน ติดตามงาน เดือนละ 1 ครั้ง


แผนบัณฑิตศึกษา

                  ศูนย์ความเป็นเลิศฯ จะสนับสนุนทุนให้กับบัณฑิตศึกษาที่สนใจทำหัวข้อวิทยานิพนธ์ในเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ความเป็นเลิศฯ เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพการวิจัยให้มีทิศทางมากขึ้น และเป็นการสนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านวิชาการและการสร้างเครือข่ายนักวิจัยทางการพยาบาลที่จบการศึกษาในระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศฯ


แผนงานเผยแพร่เทคโนโลยีและการพัฒนาเชิงพาณิชย์

                  คาดว่าจะมีผลงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทุกด้านเพื่อสังคมสูงวัยและประชาชน มากกว่าร้อยละ 70 ในหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน ดังนี้
                  1) จัดทำนวัตกรรม สื่อและคู่มือเพื่อเป็นแนวทางสำหรับประชาชนและบุคลากรทางสุขภาพในการสร้างเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสุขภาวะของผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับบริบทสังคมวัฒนธรรมไทย ในพื้นที่เขตเมืองและชนบท
                  2) เอกสารเครื่องมือและวิธีการประเมินและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านโดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสามารถนำไปใช้เพื่อการประเมินได้อย่างเป็นระบบ
                  3) นำต้นแบบนวัตกรรมที่สามารถขยายผลเพื่อการดูแลผู้สูงอายุทุกกลุ่มในพื้นที่อย่างเป็นระบบ
                  4) นำระบบการจัดการทางสุขภาพสำหรับการพึ่งตนเองและสร้างสุขภาวะที่ดีของผู้สูงอายุโดยประชาชนและใช้ในการเรียนการสอน
                  5) นำระบบการสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลทางสังคมของผู้สูงอายุในพื้นที่เขตเมืองและชนบท และใช้ในการเรียนการสอน
                  6) นำแนวทางหรือข้อเสนอแนะในการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อผู้สูงวัยและเกิดนวัตกรรมร่วมสมัยบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                  ทั้งนี้ จะมีการนำใช้ประโยชน์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่
                  1. เผยแพร่ผ่านสื่อและเว็ปไซต์ขององค์กร และสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ
                  2. จัดเวทีสาธารณะเสนอภาพรวมและความเชื่อมโยงของของแต่ละโครงการในชุมชน หรือพื้นที่และ มีหน่วยงานภาคเอกชนมาร่วมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการลงทุนและเชิงพาณิชย์ในผลิตภัณฑ์หรือผลงานนวัตกรรม ที่สร้างขึ้น
                  3. เผยแพร่โดยการตีพิมพ์ผลงานทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

หน่วยงานที่นำผลการวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
                  1. มหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำข้อมูลไปพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงวัย และการพัฒนาบุคลากรเพื่อการดูแลผู้สูงวัย และนำต้นแบบระบบการดูแลเชิงรุกสำหรับผู้สูงอายุไปใช้ในการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งร่างกาย จิตใจและสังคมในระดับชาติหรือระดับพื้นที่/ตำบล
                  2. ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สมาคมโรงเรียนหรือชมรมผู้สูงอายุ นำรูปแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่เป็นต้นแบบไปพัฒนาต่อยอดและสร้างเครือข่าย วิสาหกิจชุมชนด้านการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุในพื้นที่
                  3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายและงบประมาณ นำองค์ความรู้การดูแลเชิงวัฒนธรรมที่เป็นจุดแข็งไปเสริมนโยบายหรือหรืออกแบบเพื่อการจัดระบบบริการสุขภาพ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความเชื่อ และบริบททางสังคมวัฒนธรรมของผู้สูงอายุ
                  4. บ้านพักคนชรา และสถานพยาบาลที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ผู้สูงอายุ และลดภาวะพี่งพิง


แผนพัฒนาบุคลากร

                  1. การจัด Journal club กำหนดให้เครือข่ายวิจัยต้องจัดกิจกรรมอย่างน้อย 3 เดือน/ครั้ง (Journal club หมายถึง กิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวิชาการการเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับกลุ่มเช่น การนำเสนอผลงานวิจัยจากการทบทวนบทความทางวิชาการในวารสาร หรืองานวิจัยที่ดำเนินการอยู่โดยอาจเป็นการนำเสนอของอาจารย์ นักศึกษา หรือวิทยากรจากภายนอก)
                  2. ดูงาน,อบรม,สัมมนาทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จัดประชุมวิชาการระดับชาติ/นานาชาติ 2 ครั้งใน 5 ปี ดูงานในประเทศ/ต่างประเทศ ปีละ 1 ครั้ง